วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 16

วันพุธ ที่ 6 ตุลาคม 2553
มีการสอบปลายภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2553
- มีการสะท้อนอาจารย์ผู้สอน






วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 15



วันพุธ ที่ 29 กันยายน 2553
สอนเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
- ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะต้องมีกิจกรรมที่น่าสนใจ มีสีสัน แปลกใหม่ และที่สำคัญจะต้องเหมาะสมและตรงตามพัฒนาการของเด็ก
- สร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้กับเด็ก ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีค่า มีความสามารถและหัดให้เด็กรู้วิธีการหาคำตอบด้วยตนเอง
บทบาทของครู
- ต้องมีความรู้ว่าเด็กมีพัฒนาแบบไหน
- ทดสอบประสบการณ์ของเด็ก
- วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
- เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
- ไม่นำกิจกรรมที่ต้องระวังมากจนเกินไป
สภาพแวดล้อมในห้องเรียน
-การสังเกตและการเปลี่ยนแปลง จัดมุมประสบการณ์ มีการนำผลไม้มาวาง สังเกตวันที่ 1เป็นอย่างไร วันที่ 2 เป็นอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน โดยการให้เด็กได้จดบันทึก
ครูจะสอนวิทยาศาสตร์อย่างไร
-ครูจะต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ต้องคอยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ครูไม่ควรยัดเยียดความรู้ให้กับเด็กมากจนเกินไป ใจเย็นๆในการที่จะให้ความรู้กับเด็ก ควรให้เด็กได้หาคำตอบด้วยตัว เอง คำถามควรจะเป็นคำถามที่กระตุ้นให้เด็กเกิดคุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์ เช่น ฝึกให้เด็กเป็นคนมีเหตุผล รู้สังเกต รู้จักคิดด้วยตนเอง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโอกาสต่างๆด้
การประเมิน
- การสังเกตเด็ก
- การซักถาม แต่อย่าให้เหมือนกับการสอบสวน จะทำให้เด็กรู้สึกเครียด การวัดก็จะไม่ได้ผลดี ควรจะเป็นไปในลักษณะของการพูดคุยมากกว่า
-วัดจากตัวเด็กเอง เด็กจะสรุปบอกเล่าจากความเข้าใจของตัวเอง
- การดูผลงาน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทางการวาด การใช้ภาษาได้มากน้อยแค่ไหน
หมายเหตุ อาจารย์ให้กลับไปทำเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ใหม่ เนื่องจากทำงานไม่ตรงประเด็นกับที่อาจารย์สั่ง และที่สำคัญจะต้องมีแหล่งอ้างอิงด้วย


วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

บีนทึกครั้งที่ 14

วันพุธที่ 22 กันยายน 2553
สรุปงานแผนผังที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน การจัดโต๊ะ เก้าอี้ในรูปแบบของเกือกม้า หรือปากชามการจัดที่นั่งแบบนี้ ช่วยในการเรียนการสอน เช่น การจัดกิจกรรมการทดลอง เด็กได้เรียนรู้จากการจับ และปฏิบัติสรุปองค์ประกอบของการเขียนแผนผัง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การดิความสัมพันธ์ของ 2อย่างเข้าด้วยกัน การสังเกต ,การวัด จำแนก ,มิติเวลา
หมายเหตุ ทำไมไม่ควรให้เด็กใช้ดินสอในการวาดรูป?ทีไม่ควรใช้ดินสอเพราะเด็กจะขาดความเชื่อมั่น การใช้ดินสอเด็กสามารถลบได้ แต่สีเทียนเมื่อเด็กได้วาดลงไปแล้ว เด็กจะไม่สามารถลบได้ เด็กจะเกิดการเรียนรู้มากที่สุด เด็กก็จะสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้

บันทึกครั้งที่ 13

วันพุธ ที่ 15 กันยายน 2553
มีการนำเสนอ mind map องค์ความรู้ใหม่ (ต่อ) มีการเพิ่มเนื้อหาใหม่ๆ ปรับปรุงให้สมบูรณ์และให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์





บันทึกครั้งที่ 12

วันพุธ ที่ 8 กันยายน 2553
สรุปกิจกรรมจากการไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยสรุปหน้าชั้นเรียนในรูปแบบของ power point ทีละกลุ่ม แบ่งกลุ่มเลือกหน่วย 1 หน่วย แยกส่วนประกอบที่สำคัญๆเพื่อนำมาสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยนำวิทยาศาสตร์มาประกอบในการสร้างองค์ความรู้ใหม่

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 11

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2553
จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนอนุบาลสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



บันทึกครั้งที่ 10



วันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553
มีการนำเสนอกิจกรรมวิทยาศาสตร์ก่อนลงมือปฏิบัติจริง มีการแนะนำเพิ่มเติมและแก้ไขทีละกลุ่ม
กลุ่มของ น้ำ อากาศ แสงและเสียง

บันทึกครั้งที่ 9

วันอังคาร ที่ 17 และ วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2553
นักศึกษาชั้นปี 3และ 4 เอก การศึกษาปฐมวัย
ศึกษาดูงานและเข้าค่าย ณ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
























บันทึกครั้งที่ 8



ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก การสอบกลางภาค


บันทึกครั้งที่ 7

บันทึกครั้งที่ 7 วันพุธ ที่ 4 สิงหาคม 2553
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก มีกิจกรรมบายศรีของเอก การศึกษาปฐมวัย

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 6



บันทึกครั้งที่ 6
วันพุธ ที่ 28 กรกฎาคม 2553
ดูวิดีทัศน์เรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ
1.การทดลองการปั่นผลไม้ ในการทดลองนี้จะฝึกให้เด็กสังเกต มีการใช้คำถามเชื่อมโยงให้เห็นการเก็บน้ำของอูฐและต้นกระบองเพชร
2.การทดลองน้ำแข็ง (น้ำเปลี่ยนสถานะ) เกิดการควบแน่นและเชื่องโยงไปถึงการเกิดของฝน ในการเกิดฝนเกิดจากพลังจากแสงอาทิตย์ลงมายังผิวน้ำ ผิวน้ำก็กลายเป็นไอเกิดการรวมตัวเป็นก้อน ทำให้ท้องฟ้าเย็นจนกลายเป็นเม็ดฝน
3.การทดลอง น้ำใส่แก้วแล้วแช่เย็น ความหนาแน่น ในธรรมชาติแล้วสสารในโลกจะมีโมเลกุลเมื่อน้ำกลายเป็นน้ำแข็งน้ำจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 12 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นเมื่อเทน้ำไปใส่แก้วแล้วแช่เย็นเมื่อแข็งตัวน้ำในแก้วก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น
4.การทดลองแครอทใส่ในแก้ว เกิดความหนาแน่นระหว่างน้ำเกลือกับน้ำเปล่า แต่เกลือจะมีความหนาแน่นมากกว่า จะสังเกตได้ว่าเมื่นำแครอทลงในน้ำเปล่าจะปรากฏว่าแครอทจะจม แต่เมื่อเทน้ำเกลือลงไปจะสังเกตได้ว่าแครอทจะลอยขึ้นมา นั่นก็เป็นเพราะว่า เกลื่อมีความหนาแน่นมากกว่า เกลือจึงดันให้แครอทลอยขึ้น
5.การตกของน้ำแข็ง ในการทดลองนำผ้าก็อตวางลงบนน้ำแข็งแล้วใช้เกลือโรยจะปรากฏว่าน้ำแข็งจะติดผ้าก็อตขึ้นมา ก็เป็นเพราะว่าเกลือจะดูดความร้อนจากบริเวณที่ใกล้ จึงทำให้น้ำแข็งติดกับผ้าก็อต
6.การทดลองแรงดันจากการเจาะรูจากขวด (ถ้าบริเวณที่มีส่วนลึกน้ำก็จะมีแรงดันมากกว่าบริเวณที่ตื้นกว่า) อากาศจะเข้ไปแทนที่น้ำจึงทำให้น้ำออกมาจากขวด จะเปรียบเสมือนการสร้างเขื่อนบริเวณที่อยู่ลึกกว่าจะต้องมีความหนามากกว่าบริเวณที่ตื้น มิฉะนั้นแรงดันบริเวณที่ลึกจะทำให้เขื่อนพังลงมาได้


วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 5

บันทึกครั้งที่ 5
วันพุธ ที่ 21 กรกฎาคม 2553
กลุ่มที่ 1 โครงการตกแต่งถุงผ้าภาวะโลกร้อน
วิธีการนำเสนอ
เพื่อนประเมิน 1.เกิดความตระหนักที่อยากจะกลับมาใช้
2.หนังสือใน power point ตัวเล็กเกินไป
3.เนื้อหาเยอะ
วิธีแก้คือให้สรุปให้น้อยกว่านี้ ปรับเนื้อหาให้เป็นแหล่งข้อมูลหรืออาจทำเป็นลิงค์ลงใน blog ภาวะโลกแทน
อาจารย์เพิ่มเติม 1.น่าจะมี VCD เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนมาใส่บ้าง
2.ตัวบทบาทสมมุติ ถุงผ้าไปเชื่อมโยงกับภาวะโลกร้อนได้อย่างไร เราจะต้องสะท้อนให้เห็นชัดว่าถุงพลาสติกย่อยสลายยาก กำจัดยาก
3. ทำแผนประเมินโครงการ
4.วิธีประเมินมี 3 ส่วน - งบใช้สอย
-งบอาหาร
-งบวัสดุ


วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 4

บันทึกครั้งที่ 4
วันพุธ ที่ 14 กรกรฎาคม 2553
นำเสนอ
1. โครงการกระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติก
2. โครงการแม่ลูกช่วยกันระบายสีถุงผ้าลดโลกร้อน
3. โครงการการประดิษฐ์ตระกร้าจากกล่องนม
4. โครงการกิจกรรมลดโลกร้อนของเด็กปฐมวัย
5. โครงการถังขยะมหัศจรรย์
ท้ายชั่วโมง
- สรุปแต่ละโครงการ มีขอปรับปรุง เพิ่ม และแก้ไขในครั้งต่อไป
อาจารย์สั่งงาน
1. ไปวางแผนโครงการของกลุ่มตัวเอง (กลุ่มหนูได้โครงการแม่ลูกช่วยกันระบายสีถุงผ้าลดโลกร้อน)
2. ทำสื่อการเรียน ศิลปะกับวิทยาศาสตร์
หมายเหตุ อาจารย์หน้าอาจารย์เรียน 09.00 น เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ



วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่3

บันทึกครั้งที่3
วันพุธที่ 7 กรกฎาคม 2553
1. มีการส่งตัวแทนออกไปนำเสนอกิจกรรมภาวะโลกร้อน
กลุ่มอายุ 4 ขวบ เรื่อง ถุงผ้าลดภาวะโลกร้อน
กลุ่มอายุ 3 ขวบ เรื่อง ขยะรีไซเคิล
กลุมอายุ 5 ขวบ เรื่อง การเรียงภาพการตัดต้นไม้ทำลายป่า
กลุ่มอายุ 4 ขวบ เรื่อง ชุดจากถุงขนม รองเท้าจากขวดน้ำ
กลุ่มอายุ 5 ขวบ เรื่อง การเก็บขยะ การแยกขยะ
2. จากนั้นอาจารย์สรุปแต่ละกิจกรรมที่ได้นำเสนอไปแต่ละกลุ่ม
3. อาจารย์สั่งงานแต่ละกลุ่มให้ไปคิดโครงการและวิธีการทำโครงการแล้วนำมาเสนออาจารย์หน้า

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 2

บันทึกครั้งที่2
วันพุธ 30 กรกฎาคม 2553
ปฐมนิเทศ
1. การแต่งกายตามระเบียบมหาวิทยาลัย
2. การมาเรียน
สอนเรื่องเด็กปฐมวัย กับ วิทยาศาสตร์
นิยาม ช่วงปฐมวัยแรกเกิด - 5 ปี จะมีพฤติกรรมที่ออกมานั้นจะมีพัฒนาการอย่างลำดับอย่างต่อเนื่อง
มีการใช้คำถามเริ่มเข้าสู่บทเรียน เช่น
1. วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กจริงเหรอ?
2.ถ้าเด็กเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ?
วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตัวเอง
ในความพยายามเช่นนี้จะติดตัวมนุย์มาตั้งแต่เกิด สะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติ อยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต และจะคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เขาไปเจอมา บางครั้งก็จะเป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะตอบได้
สรุปของหนูเอง
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นจะเริ่มที่สติปัญญาของเด็ก วิทยาศาสตร์เป็นเหมือนตัวสะท้อนเด็กว่า เด็กสามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหากับสิ่งต่างๆได้ไหม โดยในธรรมชาติของเด็กแล้วสิ่งที่พวกเขาซักถามมันจะเป็นตัวเชื่อมโยงกับสมองเหมือนเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการและช่วงอายุไปตามวัย ในธรรมชาติของเด็กนั้นครูและผู้ปกครองไม่ควรปิดกั้นโอกาสในการแสดงความสามารถของเด็กให้เขาได้คิดต่อยอดเหมือนเป็นการปูทางสู่ให้เด็กได้เรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้นไป
อาจารย์สั่งงานกลุ่ม หากิจกรรมที่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ได้เด็กอายุ 4 ขวบค่ะ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

บันทึกครั้งที่ 1
วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 53
เข้าร่วมกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัย