วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 16

วันพุธ ที่ 6 ตุลาคม 2553
มีการสอบปลายภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2553
- มีการสะท้อนอาจารย์ผู้สอน






วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 15



วันพุธ ที่ 29 กันยายน 2553
สอนเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
- ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะต้องมีกิจกรรมที่น่าสนใจ มีสีสัน แปลกใหม่ และที่สำคัญจะต้องเหมาะสมและตรงตามพัฒนาการของเด็ก
- สร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้กับเด็ก ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีค่า มีความสามารถและหัดให้เด็กรู้วิธีการหาคำตอบด้วยตนเอง
บทบาทของครู
- ต้องมีความรู้ว่าเด็กมีพัฒนาแบบไหน
- ทดสอบประสบการณ์ของเด็ก
- วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
- เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
- ไม่นำกิจกรรมที่ต้องระวังมากจนเกินไป
สภาพแวดล้อมในห้องเรียน
-การสังเกตและการเปลี่ยนแปลง จัดมุมประสบการณ์ มีการนำผลไม้มาวาง สังเกตวันที่ 1เป็นอย่างไร วันที่ 2 เป็นอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน โดยการให้เด็กได้จดบันทึก
ครูจะสอนวิทยาศาสตร์อย่างไร
-ครูจะต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ต้องคอยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ครูไม่ควรยัดเยียดความรู้ให้กับเด็กมากจนเกินไป ใจเย็นๆในการที่จะให้ความรู้กับเด็ก ควรให้เด็กได้หาคำตอบด้วยตัว เอง คำถามควรจะเป็นคำถามที่กระตุ้นให้เด็กเกิดคุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์ เช่น ฝึกให้เด็กเป็นคนมีเหตุผล รู้สังเกต รู้จักคิดด้วยตนเอง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโอกาสต่างๆด้
การประเมิน
- การสังเกตเด็ก
- การซักถาม แต่อย่าให้เหมือนกับการสอบสวน จะทำให้เด็กรู้สึกเครียด การวัดก็จะไม่ได้ผลดี ควรจะเป็นไปในลักษณะของการพูดคุยมากกว่า
-วัดจากตัวเด็กเอง เด็กจะสรุปบอกเล่าจากความเข้าใจของตัวเอง
- การดูผลงาน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทางการวาด การใช้ภาษาได้มากน้อยแค่ไหน
หมายเหตุ อาจารย์ให้กลับไปทำเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ใหม่ เนื่องจากทำงานไม่ตรงประเด็นกับที่อาจารย์สั่ง และที่สำคัญจะต้องมีแหล่งอ้างอิงด้วย


วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

บีนทึกครั้งที่ 14

วันพุธที่ 22 กันยายน 2553
สรุปงานแผนผังที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน การจัดโต๊ะ เก้าอี้ในรูปแบบของเกือกม้า หรือปากชามการจัดที่นั่งแบบนี้ ช่วยในการเรียนการสอน เช่น การจัดกิจกรรมการทดลอง เด็กได้เรียนรู้จากการจับ และปฏิบัติสรุปองค์ประกอบของการเขียนแผนผัง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การดิความสัมพันธ์ของ 2อย่างเข้าด้วยกัน การสังเกต ,การวัด จำแนก ,มิติเวลา
หมายเหตุ ทำไมไม่ควรให้เด็กใช้ดินสอในการวาดรูป?ทีไม่ควรใช้ดินสอเพราะเด็กจะขาดความเชื่อมั่น การใช้ดินสอเด็กสามารถลบได้ แต่สีเทียนเมื่อเด็กได้วาดลงไปแล้ว เด็กจะไม่สามารถลบได้ เด็กจะเกิดการเรียนรู้มากที่สุด เด็กก็จะสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้

บันทึกครั้งที่ 13

วันพุธ ที่ 15 กันยายน 2553
มีการนำเสนอ mind map องค์ความรู้ใหม่ (ต่อ) มีการเพิ่มเนื้อหาใหม่ๆ ปรับปรุงให้สมบูรณ์และให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์





บันทึกครั้งที่ 12

วันพุธ ที่ 8 กันยายน 2553
สรุปกิจกรรมจากการไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยสรุปหน้าชั้นเรียนในรูปแบบของ power point ทีละกลุ่ม แบ่งกลุ่มเลือกหน่วย 1 หน่วย แยกส่วนประกอบที่สำคัญๆเพื่อนำมาสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยนำวิทยาศาสตร์มาประกอบในการสร้างองค์ความรู้ใหม่

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 11

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2553
จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนอนุบาลสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



บันทึกครั้งที่ 10



วันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553
มีการนำเสนอกิจกรรมวิทยาศาสตร์ก่อนลงมือปฏิบัติจริง มีการแนะนำเพิ่มเติมและแก้ไขทีละกลุ่ม
กลุ่มของ น้ำ อากาศ แสงและเสียง